ประหวัดจังหวัดยโสธร
"เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ"
จังหวัดยโสธรจากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวกเดินทางไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึง ดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น "เมืองยโสธร" มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ถึง พ.ศ. 2443 รวมเข้ารวมเข้าอยู่ในบริเวณอุบลราชธานีจนถึง พ.ศ. 2450 เมื่อยุบบริเวณอุบลราชธานีจัดตั้งเป็นจังหวัดอุบลราชธานี จึงเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี กระทั่งมีคำสั่งของคณะปฏิวัติดังกล่าว มีเจ้าเมืองบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้ แยกอำเภอยโสธรอำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 เป็นต้นมา
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดยโสธร
จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ตั้งโดยคณะปฏิวัติสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2515 สืบไป จังหวัดยโสธรอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลาง 128 เมตร ศาลากลางจังหวัดยโสธรตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร มีเนื้อที่ประมาณ 4,161.444 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง จังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอทรายมูล อำเภอกุดชุม อำเภอค้อวัง อำเภอเลิงนกทา และอำเภอไทยเจริญ
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดอำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดกับ ติดกับจังหวัดร้อยเอ็ด
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีภูเขาขนาดเล็กเป็นบางบริเวณในตอนเหนือของจังหวัด ด้านตะวันตกของจังหวัดมีลำน้ำยังไหลผ่านจากทางทิศเหนือไปทิศใต้ลงสู่แม่น้ำชี
ด้านเศรษฐกิจ
ในด้านเศณษฐกิจในพื้นที่จังหวัดยโสธรมีการปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา แหล่งน้้ำในการทำการเกษตรมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิต แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
ตราประจำจังหวัด
รูปพระธาติอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบาน เป็นการแสดงถึงการที่จังหวัดยโสธรแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี
พันธ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด
ต้นกระบาก (Anisoptera costata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นยางนา (Nipterocarpus alatus)
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกบัวแดง (Nymphara rubra)
สัตว์น้ำประจำจังหวัด
ปลาชะโอน หรือปลาเซียม (Ompok bimaculatus)
ข้อมูลการเดินทาง การเดินทางโดยรถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอหนองสองห้อง และอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดของแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบรี อำเภอเสลภูมิ ถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทางประมาณ 531 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง
รถไฟหรือเครื่องบิน สำหรับผู้โดยสารโดยไฟและเครื่องบิน จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อมาลงที่ยโสธรอีกประมาณ 99 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตารางรถไฟ โทร.1690 ,0 2223 7010 ,0 2223 7020
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ยโสธร ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ สถานีเดินรถสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 0 2936-2852-66 www.transport.co.th
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ โรงพยาบาลยโสธร โทร. 0 4571 2580 ,0 4572 2486-7 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4571 1093 สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4571 2722 สถานีตำรวจภูธรจังหวัดยโสธร โทร. 0 4571 1683-4 Link ที่น่าสนใจ สำนักงานจังหวัดยโสธร |
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล